หยุด!! พฤติกรรมเปิดไฟฉุกเฉินโดยไม่จำเป็น


properties

เวลาขับรถข้ามแยก จริงๆแล้วห้ามเปิดไฟฉุกเฉินเด็ดขาด อันตรายมาก !! เนื่องจากไฟฉุกเฉินมีไว้สำหรับ..รถที่จอดเสียไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ตามพรบ.จราจร มาตรา 9 เพราะฉะนั้นไฟฉุกเฉินสามารถใช้ได้ในกรณีรถเสียที่จอดอยู่กับที่เท่านั้น ตาม พรบ.จราจร มาตรา 9 และกฎกระทรวงข้อ 11 กฎหมายกำหนดให้ใช้ ไฟฉุกเฉิน เฉพาะกรณีรถเสียที่จอดอยู่กับที่เท่านั้น


♦ ข้ามสี่แยกแล้วต้องการตรงไป ผู้ขับขี่หลายคน มีความเชื่อว่า การเปิดไฟฉุกเฉินเมื่อจะเข้าสี่แยกแล้วต้องการตรงไป เป็นการเตือนรถยนต์คันอื่นที่กำลังร่วมใช้สี่แยกเดียวกัน ไม่ให้มาชนรถยนต์ของตนเอง  แต่ในความจริงแล้ว ผู้ขับร่วมทาง อาจเห็นแค่ไฟกะพริบ มุมหน้ามุมเดียว เสมือนว่ารถยนต์คันที่เปิดไฟฉุกเฉินกำลังจะเตรียมเลี้ยวไปยังด้านใดด้านหนึ่ง  เมื่อเกิดความเข้าใจผิด ก็อาจไม่ระวังหรือไม่ได้ชะลอความเร็วลง อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ วิธีขับรถข้ามทางแยกที่ถูกต้อง ตั้งสมาธิควบคุมรถยนต์ตามปกติ มองซ้ายมองขวา เมื่อเห็นว่าอยู่ในระยะที่ปลอดภัยแล้วก็ขับข้ามทางแยกไปเลย โดยไม่ต้องเปิดไฟฉุกเฉิน

 

♦ จอดรถในพื้นที่หรือเวลาห้ามจอด การจอดรถยนต์ในพื้นที่หรือเวลาห้ามจอดแล้วเปิดไฟฉุกเฉิน เป็นพฤติกรรมที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะไฟฉุกเฉิน ให้ใช้ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน และต้องการให้ผู้อื่นทราบ เช่น รถประสบอุบัติเหตุ หรือเสียจอดกีดขวางอยู่ และกฎหมายกำหนดให้ใช้  “ไฟฉุกเฉิน” เฉพาะกรณีรถที่ “จอดเสีย” อยู่กับที่เท่านั้น!

 

♦ ฝนตกหนัก หมอกลงจัด ทัศนวิสัยแย่ การเปิดไฟฉุกเฉินขณะฝนตก จะทำให้ผู้ขับรถตามหลัง รวมถึงผู้ร่วมทางคนอื่นๆ เกิดความสับสนว่า รถที่เปิดไฟฉุกเฉินต้องการเปลี่ยนเลนไปทางซ้าย หรือทางขวา หรือต้องการที่จะจอด เนื่องจากไฟเลี้ยวจะไม่ทำงานขณะเปิดไฟฉุกเฉินอยู่ นอกจากนี้ การขับรถตามหลัง รถที่เปิดไฟฉุกเฉินเป็นระยะเวลานานๆ ยังส่งผลให้ดวงตาของผู้ขับขี่พร่ามัว และหากมีรถหลายคันเปิดไฟฉุกเฉินพร้อมกันด้วยแล้ว จะยิ่งทำให้กะระยะได้ยาก กรณีทัศนวิสัยไม่ดี ควรเปิดไฟหน้า พร้อมไฟตัดหมอก หรือถ้าแย่มากๆ จนแทบมองไม่เห็นทางและสภาพแวดล้อม ควรจอดหลบอย่างปลอดภัยและควรเปิดไฟฉุกเฉินไว้ด้วย

 

♦ เบรกกะทันหัน ต้องจอดเป็นคันท้าย การเบรกกะทันหันในลักษณะดังกล่าว ให้เหยียบแป้นเบรกให้ไฟเบรกสว่างค้างไว้ ถ้ามองกระจกหลังแล้วไม่แน่ใจว่าผู้ขับรถยนต์ที่ตามมาจะเบรกทันหรือไม่ ให้ถอนแป้นเบรกแล้วเหยียบซ้ำเพื่อให้ไฟเบรกกะพริบ 1 ครั้ง จะได้เป็นที่สังเกตได้ชัดเจน แล้วค่อยเหยียบแป้นเบรกค้างไว้ หรืออาจเปิดไฟฉุกเฉินในขณะจอดนิ่ง ต่อท้ายอย่างกะทันหันในช่วงสั้น ๆ ได้ และเมื่อรถยนต์ที่ตามมาเบรก และจอดอย่างปลอดภัยแล้วหรือก่อนเริ่มออกตัวใหม่ ควรปิดไฟฉุกเฉินทันที

การเปิดไฟฉุกเฉินพร่ำเพรื่อ จึงไม่ใช่สิ่งที่ควรกระทำ และสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเปิดหรือไม่เปิดไฟฉุกเฉินในสถานการณ์ใด ๆ ต้องมีความปลอดภัยต่อทุกคนเพิ่มขึ้น ไม่ใช่ลดลง

บทความต่างๆ


สาดความคุ้ม ต้อนรับ...



19-03-2024


มีรถ อย่าลืม!! ซื้อ...



19-03-2024


ประกันชั้น 3+ ...



19-03-2024


หยุด!! พฤติกรรมเปิดไฟฉุกเฉิ...



19-03-2024



>> ช่องทางในการติดตามข่าวสาร <<

properties properties properties

บทความอื่นๆ